เทศกาลภาพยนตร์ 60 วินาที (THE 60 SECOND FILM FESTIVAL)
งานนี้คืออะไร ?
เทศกาลภาพยนตร์ 60 วินาที เป็นงานเทศกาลภาพยนตร์ที่เกิดจากความร่วมมือของหลากหลายองค์กร งานนี้สนับสนุนให้ผู้คนในวงการภาพยนตร์ทั้งไทยและนานาชาติได้ผลิตภาพยนตร์สั้น ยาว 1 นาที หรืออาจสั้นกว่านั้น (รวมไตเติ้ลและเครดิต) เทศกาลนี้เป็นโอกาสอันดีที่คุณจะได้แสดงทักษะและความคิดสร้างสรรค์ของคุณ
งานเมื่อไหร่ ?
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 19.00 - 23.30 น. ณ แกลลอรี่ไวท์ไลน์ สีลม ซอย 8
จะเข้าร่วมได้อย่างไร ?
ส่งภาพยนตร์ของคุณได้ ที่นี่ ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563
เปิดรับทุกเรื่อง ทุกแนว และทุกรูปแบบ โดยภาพยนตร์จะต้องมีความยาว 60 วินาที หรือน้อยกว่า (รวมเครดิตท้ายเรื่อง)
ทำไมคุณควรเข้าร่วม ?
- เพื่อให้งานของคุณได้เผยแพร่สู่ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการ รวมถึงผู้ชมทั่วไปที่สนใจในภาพยนตร์ฃ
- รางวัลมากมาย! (ข้อมูลรางวัล ด้านล่าง)
เทศกาลภาพยนตร์ 60 วินาที มีรางวัลให้มากมายในหมวดหมู่ดังต่อไปนี้
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม: 20,000 บาท
พิจารณาจากภาพยนตร์ทุกเรื่องทุกแนว - ภาพยนตร์ด้านสิ่งแวดล้อมยอดเยี่ยม: 20,000 บาท
พิจารณาจากภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องมลภาวะทางอากาศ โลกร้อน ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ในรูปแบบของสารคดีสั้น บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ แนวตลก หรือรูปแบบและแนวอื่น ๆ - รางวัล Mbrella Films สำหรับผู้กำกับยอดเยี่ยม
พิจารณาจากภาพยนตร์ทุกเรื่องทุกแนว ผู้ชนะรางวัลจะได้รับแพคเกจการผลิตงานจาก Mbrella Films รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรางวัลคลิกที่นี่ - รางวัล Mr Black DARKEST FILM
สนับสนุนโดย Mr Black Cold Press Coffee Liqueur ของรางวัลเสื้อยืด Mr Black และขวดน้ำ Mr Black Cold Press Coffee Liqueur - ภารกิจการผลิตภาพยนตร์อย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม !
สนับสนุนโดยครีเอทีฟ ไมเกรชั่น รายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง
คุณอยากจะทำงานอย่างยั่งยืนไหม? อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในวงการการผลิตภาพยนตร์รึเปล่า? มาร่วมกับเราใน ภารกิจการผลิตภาพยนตร์อย่างยั่งยืน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Sustainable Filmmaking Challenge) งานของคุณจะได้รับการรีวิวจากผู้เชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างยั่งยืน
ผู้ผลิตภาพยนตร์จะต้องทำตามข้อแนะนำการผลิตภาพยนตร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้อย่างน้อย 8 ข้อ โดยจะต้องบันทึกและเผยแพร่กระบวนการผลิตภาพยนตร์ผ่านทางสื่อออนไลน์ของเทศกาลภาพยนตร์ 60 วินาที
ครีเอทีฟ ไมเกรชั่น จะเชิญผู้เข้าร่วมที่สามารถทำตามข้อแนะนำนี้ได้มาแสดงผลงานของตนเองให้ผู้เชี่ยวชาญและคนในวงการได้รับชม ในการฉายหนังรอบพิเศษที่ Bangkok 1899
ผู้ชนะเลิศจะได้จับคู่กับผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน และคนในวงการภาพยนตร์ ในการช่วยให้คำแนะนำการผลิตงานในอนาคต เพื่อที่ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด
ข้อแนะนำการผลิตภาพยนตร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ตามรายละเอียดด้านล่าง) ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการที่ผ่านมาของเรา Project Green (Nomad Films/ Global Action Plan Sweden)
ขั้นเตรียมการผลิต (Pre-Production)
- การประชุมการผลิตจะต้องจัดขึ้นในพื้นที่ท้องถิ่นและสามารถเดินทางถึงได้โดยวิธีเดินทางทุกรูปแบบ
- ใช้วิธีอีเมล แชร์เอกสารทางออนไลน์ หรือใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างทีมงาน
- ใช้กระดาษให้น้อยที่สุดสำหรับเอกสารการเงินและเอกสารดำเนินการต่างๆ หากเป็นไปได้ให้ใช้ไฟล์ดิจิตอล
- ออฟฟิศหรือที่ทำงานจะต้องมีถังขยะสำหรับรีไซเคิลขยะ และสนับสนุนให้ทีมงานทุกคนนำภาชนะที่นำกล้บมาใช้ได้มาใช้
สถานที่
- หากเป็นไปได้ ให้ถ่ายและเลือกสถานที่ถ่ายทำที่สามารถเดินทางถึงได้โดยการขนส่งสาธารณะ
- ไม่ว่าสถานที่ถ่ายทำคือที่ไหนก็ตาม จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเสมอ โดยหลีกเลี่ยงการทำลายหรือการก่อให้เกิดความเสียหายต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบ อันเป็นผลมาจากการผลิตงาน
- เก็บวัสดุอุปกรณ์ และเศษชิ้นต่าง ๆ ที่มาจากการถ่ายทำ จะต้องไม่ทิ้งอะไรไว้หลังถ่ายทำเสร็จ รวมไปถึงเทป คราบน้ำมัน หมากฝรั่ง ก้นบุหรี่ ฯลฯ
- พาหนะสำหรับการเดินทางที่ใช้ตลอดการถ่ายทำควรเป็นยานยนต์ไฟฟ้าหรือไฮบริด ต้องไม่ใช้รถยนต์อเนกประสงค์ (SUV) หรือรถบรรทุกดีเซลในการถ่ายทำ หรือการเดินทางไปถ่ายทำ
- หากจำเป็นต้องเดินทางทางอากาศ การขนส่งและ/หรือเที่ยวบินควรรวมกัน เพื่อลดจำนวนรอบบินในการเดินทาง ลดการเดินทางโดยรถยนต์ไปยังสนามบิน โดยใช้รถไฟฟ้า หรือรถประจำทางแทน
- การ์ดหน่วยความจำ (Memory): หากเป็นไปได้ ควรใช้การ์ด P2 ข้อมูลทั้งหมดที่ถ่ายทำควรเก็บไว้ใน External Hard Drives
- เสียง: ใช้การ์ดหน่วยความจำในการบันทึกเสียงแทนการใช้เทป
- ไฟ: หากเป็นไปได้ ให้ใช้แสงธรรมชาติ และ/หรือ อุปกรณ์ไฟที่ชาร์จแบตเตอรี่ได้ หรือไฟที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยไฟที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน จะต้องปิดทันทีหากไม่ได้ใช้งาน
- ทีมงานควรนำจานชามช้อนส้อมที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้มาใช้ รวมไปถึงผ้าเช็ดปาก จะไม่แจกจานชามช้อนส้อมพลาสติก/กระดาษให้
- ควรมีถังน้ำดื่ม ทีมงานควรนำแก้วหรือขวดน้ำมาเอง จะไม่แจกแก้วพลาสติก/กระดาษให้
- อาหารการกินควรมาจากร้านอาหารหรือผู้จัดจำหน่ายในพื้นที่
- เศษอาหารควรนำไปหมักทำเป็นปุ๋ย อาหารเหลือที่ยังไม่ได้กินควรนำไปบริจาคให้ผู้ที่ต้องการ
- ออฟฟิศหรือที่ทำงานขั้นหลังการผลิตต้องสามารถเดินทางถึงได้โดยวิธีเดินทางทุกรูปแบบ
- ใช้วิธีอีเมล แชร์เอกสารทางออนไลน์ หรือใช้โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างทีมงาน
- ต้องปิดอุปกรณ์เครื่องใช้เมื่อไม่ได้ใช้งาน หน้าจออาจตั้งไว้ในโหมดประหยัดพลังงาน หากจำเป็นต้องเปิดทิ้งไว้ข้ามคืน
- ใช้กระดาษให้น้อยที่สุดสำหรับเอกสารการเงินและเอกสารดำเนินการต่างๆ หากเป็นไปได้ให้ใช้ไฟล์ดิจิตอล
- ออฟฟิศหรือที่ทำงานจะต้องมีถังขยะสำหรับรีไซเคิลขยะ และสนับสนุนให้ทีมงานทุกคนนำภาชนะที่นำกล้บมาใช้ได้มาใช้